Was Sie tun müssen, wenn jemand gestorben ist

ถ้าสามีเสียชีวิตกระทันหันเราควรทำอย่างไรบ้างคะ

แชร์ความรู้ที่อาจเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว ไว้บอกต่อได้ค่ะ

เราควรตั้งสติและพยายามคิดว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ให้ได้กันนะคะ ก่อนที่จะหันหน้าไปพึ่งใคร เพราะคุณอาจเสียเปรียบได้

1 หาเอกสารทุกชนิด เช่น
- บัตรประชาชน(Personalausweis)
- สมุดหรือหนังสือแสดงฐานะครอบครัว (Stammbuch)เมืองไทยไม่มี แต่ที่เยอรมันจะได้รับจากสำนักทะเบียนในวันแต่งงาน
- ใบเกิด( Geburtsurkunde) และเอกสารสำคัญทุกอย่างที่เขามี ต้องใช้ประกอบการยื่นหลักฐานอีกหลายสำนักงาน
- เอกสารประกันทุกชนิด
- สมุดบัญชีธนาคาร
- พินัยกรรม
ไม่ควรปล่อยเอกสารออกจากมือ ให้ใครเอาไปจัดการแทนให้ หากมีผู้ประสงค์ดีอยากช่วย ควรร่วมกันทำพร้อมอธิบาย เคยมีหลายคน ที่ไว้ใจญาติ แต่กลับถูกเอาเปรียบ ถูกรังแก พึงจำไว้นะคะว่า เงินทอง ไม่เข้าใครออกใคร

2 ถ้าสามีมีประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ทั้งกรณีเสียชีวิตและประกันแบบมีเงินสะสม หรือประกันฌาปนกิจเพื่อทำงานศพ ขอให้รีบแจ้งบริษัทประกันทันที มิฉะนั้นประกันเหล่านี้ อาจจะปฏิเสธการจ่ายเงินวันหลังได้
การแจ้งอันดับแรกทางโทรศัพย์ได้ก่อน และตามด้วยจดหมายเป็นทางการ ซึ่งภรรยาต้องมีสำเนาและหลักฐานการจดทะเบียนด้วย

หากเอกสารมากมายจนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน สามารถเอา Kontoauszug รายการยอดเงินในบัญชีมาตรวจ ย้อนหลัง 2-3 ปี เพื่อสังเกตว่ามียอดเงินอะไรที่ตัดออกจากบัญชี ทุกเดือนบ้าง
บางประกัน เช่น ประกันรถ ประกันภัยบ้าน อาจตัดยอดปีละ 1 ครั้ง จดไว้เพื่อเอามาเปรียบเทียบกับเอกสารที่มี ว่ารายจ่ายไหนเป็นประกันใหม่ที่ยังจ่ายอยู่

3 หลังการตายไม่เกินวันที่ 3 ของวันเวลาราชการ ต้องแจ้งที่Standesamt เพื่อขอใบมรณบัตร (Sterbeurkunde) แต่ต้องมี Totenschein เอกสารยืนยันการเสียชีวิตจากแพทย์ไปแสดง ใบมรณบัตรนี้ ญาติใกล้ชิดเป็นผู้ขอได้
หรือในเคสที่มีบริษัทประกันฌาปนกิจ ทางบริษัทอาจจัดการเรื่องนี้ให้ ซึ่งมักจะได้ประมาณ3ใบและสามารถออกเพิ่มได้อีกตามความจำเป็น

4 ในการติดต่อบริษัทฌาปนกิจ Bestattungsunternehmer เพียงโทรศัพท์ไปเขาจะมาหาถึงบ้านพร้อมรายละเอียดมีให้เลือกตามที่เราต้องการและราคาเหมาะสม แต่อย่าลืมปรึกษาญาติใกล้ชิดของเขาเพื่อเป็นการให้เกียรติและขอความเห็นด้วย

หมายเหตู สำหรับผู้ที่ทำประกันฌาปนกิจเพื่อทำงานศพไว้ ในเอกสารประกัน จะระบุชื่อผู้จัดการงานศพไว้ บางรายระบุชื่อญาติ หรือภรรยา
บางคนระบุชื่อบริษัทฌาปนกิจ Bestattungsunternehmer เป็นผู้จัดการงานศพในใบประกันไว้เลย เมื่อมีการเสียชีวิต เราโทรแจ้ง Bestattungsunternehmer ได้เลย ซึ่งบริษัทจะคำนวณเงินค่าใช้จ่าย ในวงเงินประกัน หากเงินเหลือ ก็จะโอนคืนบัญชีผู้รับมรดก

5 ถ้าผู้ตายเช่าบ้านอยู่ขอให้แจ้งเจ้าของบ้านให้ทราบและการตายของสามีไม่ใช่เป็นเหตุให้การเช่าบ้านยุติลง สามารถเช่าต่อและอยู่ต่อได้ ถ้าจะขอยกเลิกสัญญาต้องทำล่วงหน้า 3 เดือน

6 การหาพินัยกรรม
ในบ้านที่คิดว่าเขาจะเก็บไว้ กรณีเขียนเอง ให้หาทันทีอย่าให้อยู่ในมือใครเป็นอันขาด และบางคนไปฝากไว้ที่ศาลก็มี

ถ้าโนทาร์ (Notar)ทำจะเก็บไว้ที่ศาล(Amtsgerichtในเขตนั้น ๆ ให้ไปติดต่อที่ แผนกNachlasserbe)​
แต่ยังมีเวลาไปวันหลัง

7. การจะนำเงินออกจากธนาคารเพื่อการใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน กรณีไม่มีเงินสดในมือหรือบัญชีตัวเอง
ต้องนำทะเบียนสมรส ใบตายไปที่ธนาคารแจ้งความประสงค์ให้ทราบ ธนาคารอาจจะให้เบิกค่าจัดงานศพก่อนได้เฉพาะกรณีจำเป็น

ถ้าภรรยาไม่มีเงินสดเพื่อใช้ดำเนินชีวิตก่อนทุกอย่างเรียบร้อย สามารถไปขอยืมที่ Amt für Versorgung und Soziales ได้

ผู้เขียนเคยช่วยพาคนไป ได้รับเงินยืมมาใช้ก่อน 3 เดือน เมื่อถึงตอนนั้นก็จะได้เงินบำนาญย้อนหลังแล้ว

8. แจ้งให้ญาติสนิทเขาทราบ รวมถึงสถานที่ทำงานของเขาด้วย

9. ภรรยามีสิทธิ์ขอลางานฉุกเฉินได้ค่ะ

ข้อความจาก https://www.finanztip.de/todesfall/

ข้อคิดจากรุ่นพี่

ปัญหาใหญ่อีกหลายปัญหาคือ
1 หลายคนไม่รู้ว่าสามีทำประกันอะไร ไว้ที่ไหนบ้าง? เราสามารถหาได้โดย
-ดูแฟ้มเอกสารทั้งหมด เขาจะมีเอกสารพวกนี้อยู่
-ดูจากสลิปธนาคารว่า เขามีรายรับ รายจ่ายอะไรบ้าง
รายรับ จะขึ้นว่า H
ส่วนรายจ่ายจะขึ้น S
ไล่ดูรายจ่ายย้อนหลังทุกเดือน
ถ้ารายจ่ายสม่ำเสมอทุกเดือน ให้รีบศึกษาว่ามันคืออะไร เราต้องแจ้งไปยังสำนักงานนั้น ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่การระงับธนาคารจะเป็นผู้จัดการ

เรื่องประกันที่สำคัญต้องรีบแจ้งทันที อย่าให้เกิน48 ชั่วโมงคือประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ
ปัญหาที่หลายคนประสบคือเมื่อเขาเสียชีวิตธนาคารจะบล็อคเงินบัญชีของสามีทันทีที่มีการแจ้งตาย
ฉะนั้นจึงอยากให้ภรรยาไทยทั้งหลายขอให้สามีใส่ชื่อเราในธนาคารร่วมด้วย
หรืออย่างน้อยต้องให้เรารู้รหัสบัตรเบิกเงิน เมื่อถึงคราวสามีเจ็บป่วยและอาการไม่ดีเราควรจะต้องรีบเบิกเงินออกมาให้มากเท่าที่เราจะทำได้

2 ปัญหานี้เจอบ่อยคือของใช้ส่วนตัวของสามีเช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แทปเล็ตและรถยนต์ ญาติทางสามีอาจขอยืมไปใช้ก่อนหรือจะเอาไปเพื่อประโยชน์โน่น นี่ นั่น
สิ่งของเหล่านี้เป็นของภรรยาตามกฏหมายผู้เดียวให้แล้วอาจไม่ได้คืน

เรียบเรียงโดย จิตรา ราห์น

รายงานสรุปการประชุมสามัญประจำปี 2020
รายงานสรุปการประชุมสามัญปี 2020.pdf
PDF-Dokument [309.2 KB]
THARA Magazin 2019
THARA_Magazin revised_3.pdf
PDF-Dokument [17.7 MB]
เอกสารเผยแพร่การประชุม สามัญประจำปี 2018
เอกสารเผยแพร่.pdf
PDF-Dokument [2.0 MB]
Thara Magazin 06.06.2018 final.pdf
PDF-Dokument [38.3 MB]
Druckversion | Sitemap
© Thara e.V. 2021