กฎหมายแรงงานเยอรมันและการยกเลิกสัญญาจ้าง

กฎหมายแรงงานเยอรมันในเชิงปฎิบัติโดยสรุป (ตอนที่1)

เยอรมันเป็นประเทศที่มีบทบัญญัติกฎหมายแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ประเทศหนึ่งของโลก โดยมีเป้าหมายหลักคือการคุ้มครองแรงงานและการจ้างงาน นอกจากจะบัญญัติการคุ้มครองแรงงานและการจ้างงานกระจัดกระจายในกฎหมาย ฉบับต่าง ๆ แล้ว เช่นในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เยอรมันยังมีกฎหมาย แรงงานเยอรมันที่มีบทบัญญัติและกำหนดหลักการครอบคลุมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานไว้อย่างครอบคลุม

กฏหมายเยอรมันแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หนึ่งส่วนที่เรียกว่า "ระดับบุคคล"ซึ่งกำหนดข้อบัญญัติทุกอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างโดยตรงข้อบัญญัติใน "ระดับบุคคล" ได้แก่ ข้อกำหนดเรื่องการพักร้อน กฎหมายป้องกันการยกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นธรรม ข้อกำหนดคุ้มครองหญิงมีครรภ์ เป็นต้น

และสองส่วนที่เรียกว่า "ระดับรวม" ซึ่งกำหนดข้อบัญญัติทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องการดำเนินกิจการเช่นระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน ข้อบัญญัติในระดับรวมนี้ ได้แก่ กฎหมายค่าจ้าง ระเบียบการเลือกคณะกรรมการลูกจ้าง เป็นต้น

???ข้อมูลกฎหมายแรงงานเยอรมันในเชิงปฎิบัติอย่างย่อ ???

เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างชาวไทย ได้รับทราบและรู้จักสิทธิของลูกจ้างในเบื้องต้น

ระยะเวลาในการทำงาน

ระยะเวลาทำงานโดยทั่วไปกำหนดโดยสัญญาการทำงานแต่อย่างมากต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่รวมเวลาพัก
มีข้อยกเว้น คือ
?สามารถกำหนดระยะเวลาทำงานได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อวัน
?หากภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
?สามารถกำหนดระยะเวลาการทำงานเกิน 10 ชั่วโมงต่อวันได้ในกรณี
? ตกลงกันด้วยสัญญา โดยลูกจ้างยินยอม
? ตกลงกันด้วยสัญญา โดยกำหนดวันหยุดชดเชย
??แต่โดยปกติแล้วการทำงานเกิน 10 ชั่วโมงต่อวันถือว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย

การหยุดพัก

ช่วงเวลาหยุดพักคือ เวลาพักรับประทานอาหารเช้า และเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน

ช่วงเวลาที่ไม่ถือว่าเป็นการหยุดพัก เช่น ช่วงที่ไม่มีลูกค้า ช่วงเข้าห้องน้ำ ช่วงชงกาแฟ เป็นต้น

ระยะเวลาการหยุดพัก

?หากทำงานน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีสิทธิเรียกร้องการหยุดพัก
?หากทำงานระหวา่ง 6-9 ชั่วโมงต่อวัน มีสิทธิหยุดพัก 30 นาที
?ทำงานตั้งแต่ 9 ชั่วโมงขึ้นไป มีสิทธิหยุดพัก 45 นาที อย่างไรก็ดีนายจ้างสามารถกำหนดระยะเวลาการหยุดพักนานกว่าที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวข้างต้นได้ และลูกจ้างสามารถกำหนดได้ว่าตัวเองจะหยุดพักช่วงใดของวันระหว่างทำงาน

การทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุดตามกฎหมาย

ปกติแล้วกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำงานในวันอาทิตย์และวันหยุด แต่กฎหมายมีข้อยกเว้น เช่น สำหรับกิจการร้านอาหาร กิจการโรงแรม เป็นต้น หากลูกจ้างต้องทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุด นายจ้างต้องปฎิบัติดังต่อไปนี้
?ไม่ให้ลูกจ้างทำงานในวันอาทิตย์ อย่างน้อย 15 วันอาทิตย์ต่อปี
?หากลูกจ้างต้องทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุด นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดชดเชยภายใน 2 สัปดาห์จากวันอาทิตย์ที่ลูกจ้างทำงานและภายใน 8 สัปดาห์นับจากวันหยุดที่ลูกจ้างทำงาน

♥️ค่าจ้าง

ปี 2020 กฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ปรับปรุงแก้ไขจากเดิม 8.84 ยูโรต่อชั่วโมง)
อย่างไรก็ตามนายจ้างอาจใช้วิธีเลี่ยงกฎหมายหลายวิธี เช่น
?ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าจ้าง
?ไม่ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้าง แต่ให้ลูกจ้างทำงานในรูปแบบเจ้าของเอง เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ และเลี่ยงไม่จ่ายค่าประกันสังคม
?นายจ้างกำหนดเวลาทำงานสั้นลงจะได้จ่ายค่าจ้างน้อยลงแต่ลูกจ้างต้องใช้เวลาทำงานเท่าเดิมเพื่อให้งานเสร็จ
?นายจ้างตีกรอบเวลาทำงานให้แคบขึ้น เช่น เวลาที่ลูกจ้างต้องเปลี่ยนใส่ชุดทำงาน ไม่นับว่าเป็นเวลาหรือเวลาที่ลูกจ้างต้องเดินทางไปทำงานนอกสถานที่ ไม่นับเวลาในการเดินทางเป็นเวลาทำงาน
?ให้บัตรของขวัญ (Gutschein) หรือข้าวของแทนค่าจ้าง
?ให้ลงชื่อในหนังสือยินยอมไม่รับค่าจ้าง
?ไม่แยกแยะเวลาพักและเวลาทำงาน

ที่มา คุณทอร์สเทน เล้าท์ (Torsten Lauth, Oberlandesgericht Hamburg) เอกสารเผยแพร่การประชุม สามัญประจำปี 2018 สมาคมธารา

การยกเลิกสัญญาจ้างงาน

?? การยกเลิกสัญญาจ้างงาน

การยกเลิกสัญญาจ้างจะมีผลก็ต่อเมื่อกระทำโดยลายลักษณ์อักษร

? การยกเลิกสัญญาด้วยปากเปล่าหรือผ่านช่องทางอิเลกทรอนิกส์ (เช่น อีเมล์ WhatsApp หรือ SMS) ถือว่าไม่มีผล
? หนังสือยกเลิกสัญญาจ้างต้องถึงมือลูกจ้าง เช่น นายจ้าง ต้องมีหลักฐานแสดงว่าหนังสือยกเลิกสัญญาจ้างถึงมือลูกจ้าง เช่น การนำไปหย่อนที่ตู้ไปรษณีย์ของลูกจ้าง หรือหลักฐานการลงทะเบียนทะเบียนไปรษณีย์ถือว่าถึงมือลูกจ้าง

การยกเลิกสัญญาจ้างของนายจ้างมี 2 กรณี คือ

การยกเลิกสัญญาทำงานในกรณีปกติ (Ordentliche Kündigung)
ในกรณีนี้โดยปกติแล้ว นายจ้างไม่ต้องแจ้งเหตุผลในการยกเลิกสัญญาจ้างก็ได้ แต่ในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองการยกเลิกสัญญาจ้าง (Kündigungsschutzgesetz) มีผลครอบคลุมสัญญาจ้างที่ทำกันไว้ นายจ้างต้องแสดงเหตุผลในการยกเลิกสัญญาจ้างซึ่งอาจเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

ความประพฤติของลูกจ้าง

โดยให้คำนึงว่านายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนและใช้มาตรการขั้นเบาทุกขั้นแล้วแต่ไม่ได้ผลจนจำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นรุนแรงโดยการยกเลิกสัญญาการทำงาน
ความประพฤติใดที่ถือเป็นเหตุให้นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างได้ เช่น มาทำงานสายมากและบ่อยหรือประเมินแล้วว่าคงไม่สามารถทำงานด้วยกันบนฐานความไว้เนื้อเชื่อใจได้อีกต่อไปหรือมีความประพฤติที่ทำให้เกิดความไม่สงบในสถานที่ทำงานอย่างถาวร เป็นต้น

เหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคลของลูกจ้างที่ไม่ใช่ความประพฤติของลูกจ้าง เช่น

*ลูกจ้างไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง หรือ
*ลูกจ้างป่วยกระเสาะกระแสะหรือป่วยบ่อย ๆ จนทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่อย่างไรก็ดี
*การยกเลิกสัญญาจ้างในกรณีต่อไปนี้จะไม่มีผล หากพิสูจน์ว่าไม่มีความเที่ยงธรรม นายจ้างไม่สามารถจ้างต่อไปได้ ต้องยกเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากมีความจำเป็นในกิจการ เช่น
*การปรับระบบการทำงาน หรือการผลิตที่ทำให้ใช้แรงงานน้อยลง
*การปรับโครงสร้างแรงงานเพราะกิจการทำรายได้ไม่พอกับการจ้างงาน
*การปรับเปลี่ยนขอบเขตงานของตำแหน่งงาน
*การมอบหมายให้บริษัทข้างนอกรับงานหรือโครงการบางอย่างไปทำ

?ระยะเวลาในการยกเลิกสัญญาจ้างโดยนายจ้างในกรณีปกติ?

การยกเลิกสัญญาจ้างในกรณีปกติมีระยะเวลา 4 สัปดาห์ล่วงหน้าโดยยกเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 15 หรือวันสุดท้ายของเดือน
สำหรับลูกจ้างที่ทำงานมานานกว่า 10 ปี มีระยะเวลาการยกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้า 4 เดือน (ยิ่งทำงานมานาน ก็ต้องแจ้งล่วงหน้านาน) โดยสัญญาจ้างสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือน
ในสัญญาจ้าง สามารถกำหนดระยะเวลายกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นแบบอื่นได้

การยกเลิกสัญญาจ้างในกรณีพิเศษ (außerordentlich Kündigung)
การยกเลิกสัญญาจ้างในกรณีพิเศษต้องมีเหตุผลเพียงพอ เช่นลูกจ้างกระทำความผิดอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำร้ายร่างกาย การลวนลามทางเพศ การฉ้อโกง เป็นต้น สามารถยกเลิกได้ทันที ไม่มีระยะเวลาในการยกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้า

ที่มา คุณทอร์สเทน เล้าท์ (Torsten Lauth, Oberlandesgericht Hamburg) เอกสารเผยแพร่การประชุม สามัญประจำปี 2018 สมาคมธารา

กฎหมายคุ้มครองการยกเลิกสัญญาจ้าง

??กฎหมายคุ้มครองการยกเลิกสัญญาจ้าง??
หลังจากที่นายจ้างได้ยกเลิกสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและลูกจ้างได้ตรวจสอบแล้วว่า สัญญาจ้างที่ทำกับนายจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอให้ศาลแรงงานตรวจสอบว่าการยกเลิกสัญญาจ้างมีผลและ มีความเที่ยงธรรมหรือไม่ โดยมีเงื่อนไขสำหรับการยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานดังนี้
?ลูกจ้างต้องทำงานในกิจการหรือบริษัทติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน ไม่ว่าจะทำงานแบบเต็มวัน (Vollzeit) หรือจะทำงานแบบครึ่งวัน (Teilzeit) ก็ตาม กิจการหรือบริษัทต้องมีลูกจ้างอย่างน้อย 10 คน
?ลูกจ้างบางกลุ่มจะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ เช่น คนพิการขั้นรุนแรง หญิงตั้งครรภ์ และสมาชิกคณะกรรมการลูกจ้าง (Betriebsrat) นายจ้างไม่สามารถยกเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้างวึ่งเป็นคนพิการขึ้นรุนแรงได้ หากมีเหตุผลสมควรจริง นายจ้างจะต้องแจ้งให้คณะกรรมการลูกจ้าง ตัวแทนคนพิการขั้นรุนแรงและสำนักงาน Integrationsamt ทราบ
?การยกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นคนพิการขั้นรุนแรงจะต้องได้รับความเห็นชอบ จากสำนักงาน Integrationsamt ที่รับผิดชอบก่อน หากไม่ได้รับความเห็นชอบ ถือว่าการยกเลิกสัญญาจ้างไม่มีผลแต่อย่างใด
?ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์จะได้รับความคุ้มครองจากการยกเลิกสัญญาจ้าง ตั้งแต่วันเริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึง 4 เดือนหลังการคลอดบุตร
?การยกเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการลูกจ้างหรือเป็นตัวแทนของลูกจ้าง ทำได้ในกรณีพิเศษ (außerordentliche Kündigung) เท่านั้น ซึ่งนายจ้างต้องแสดงเหตุผลสำคัญของการเลิกสัญญาจ้าง โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการลูกจ้าง การยกเลิกสัญญาจ้างถึงมีผล
?การยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานต้องยื่นภายใน 3 อาทิตย์หลังจากวันที่ได้รับยกเลิกสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องยื่นภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ยื่นภายในเวลาที่กำหนดถือว่าการยกเลิกสัญญาจ้างมีผล

ที่มา คุณทอร์สเทน เล้าท์ (Torsten Lauth, Oberlandesgericht Hamburg) เอกสารเผยแพร่การประชุม สามัญประจำปี 2018 สมาคมธารา

รายงานสรุปการประชุมสามัญประจำปี 2020
รายงานสรุปการประชุมสามัญปี 2020.pdf
PDF-Dokument [309.2 KB]
THARA Magazin 2019
THARA_Magazin revised_3.pdf
PDF-Dokument [17.7 MB]
เอกสารเผยแพร่การประชุม สามัญประจำปี 2018
เอกสารเผยแพร่.pdf
PDF-Dokument [2.0 MB]
Thara Magazin 06.06.2018 final.pdf
PDF-Dokument [38.3 MB]
Druckversion | Sitemap
© Thara e.V. 2021